เมนู

3. ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์ทั้งหลายที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ครั้นกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ
ทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น ฯลฯ.

4. อนันตรปัจจัย



[1157] 1. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ 1. ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
2. อนุโลมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่โคตรภูที่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
3. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน.
4. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค.
5. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค.
6. มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล.
7. ผล เป็นปัจจัยแก่ผล.
8. อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
9. ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[1158] 2. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ 1. จุติจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่อุปบัติจิตที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
2. ภวังคจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
3. สุขสหคตกายวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่วิบากมโนธาตุ ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.
4. วิบากมโนวิญญาณธาตุ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่กิริยามโนวิญญาณธาตุ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
5. ภวังคจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ภวังคจิตที่
สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
6. กุศลและอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
วุฏฐานะที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา.
7. กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ, ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1159] 3. ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.

[1160] 4. ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ 1. ทุกขสหคตกายวิญญาณ เป็นปัจจัยแก่วิบากมโนธาตุ
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
2. ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1161] 5. ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตร-
ปัจจัย

คือ 1. ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.
2. อนุโลมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่โคตรภู
ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
3. อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน.
4. โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค.
5. โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค.
6. มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล.
7. ผลเป็นปัจจัยแก่ผล.
8. อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ.

9. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ
เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตร-
ปัจจัย.
10. ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
วุฏฐานะที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1162] 6. ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ 1. จุติจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่อุปบัติ-
จิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
2. อาวัชชนจิต เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยสุข-
เวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
3. วิบากมโนธาตุ เป็นปัจจัยแก่วิบากมโนวิญญาณธาตุ ที่
สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
4. ภวังคจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ภวังค-
จิตที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
5. กุศลและอกุศลจิตที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่วุฏฐานะที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา.
6. กิริยา เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ.
7. ผล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ.
8. เนวสัญญานาสัญญายตนะของพระอริยบุคคลผู้ออกจากนิโรธ
เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

[1163] 7. ธรรมที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ อาวัชชนจิต เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่สัมปยุตด้วย
ทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย


[1164] 1. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
เหมือนกับอนันตรปัจจัย.

6. สหชาตปัจจัย


[1165] 1. ธรรมที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ด้วยอำนาจ
ของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ 2 ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย, ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 ด้วย
อำนาจของสหชาตปัจจัย.
[1166] 2. ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกเวทนา เป็นปัจจัยแก่
ธรรมที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ด้วย
อำนาจของสหชาตปัจจัย ขันธ์ 2 เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 1 ด้วยอำนาจของสหชาต-
ปัจจัย.